SCODI (Thai)
Translated By
Wimol Madit, RN, MSN
Ph.D.candidate, Faculty of Nursing Thammasat University
Phone: 094-6255956
Email: wimol2006@gmail.com
ขั้นตอนวิธีให้คะแนนการดูแลตนเอง
ขั้นตอนวิธีให้คะแนนนี้สามารถใช้คำนวณคำตอบของเอกสารทั้งหมดที่พบในเว็บไซต์นี้ได้
การคำนวณคะแนนที่ทำให้เป็นมาตรฐาน
เครื่องมือทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการให้คะแนนในลักษณะเดียวกัน ทุกเครื่องมือใช้คะแนนที่ทำให้เป็นมาตรฐานที่คำนวณแยกกันสำหรับแต่ละคะแนน อย่าคำนวณคะแนนรวมที่สะท้อนถึงทั้งดัชนีหรือทั้งบัญชี กล่าวคือ อย่านำมาตรวัดการคงการดูแลตนเองไว้, การเฝ้าสังเกตในการดูแลตนเอง (หรือการรับรู้อาการ) และการจัดการในการดูแลตนเองมารวมเข้าด้วยกัน ในการคำนวณคะแนนที่ทำให้เป็นมาตรฐาน อันดับแรกให้คำนวณคะแนนดิบของมาตรวัด แล้วแปลคะแนนดิบของมาตรวัดเป็นคะแนนที่ทำให้เป็นมาตรฐานที่อยู่ในช่วงตั้งแต่ 0 ถึง 100
การคำนวณคะแนนดิบของมาตรวัด | หลังจากการบันทึกรายการซึ่งรวมถึงการจัดการข้อมูลที่ขาดหายไป (ดูด้านล่าง) แล้ว จะคำนวณแต่ละคะแนนเป็นคะแนนดิบคะแนนนี้เป็นผลรวมทางพีชคณิตของการ ตอบทุกรายการในมาตรวัดนั้น ตัวอย่างเช่น คะแนนดิบของมาตรวัดการคงการ ดูแลตนเองไว้ คือ ผลรวมของคำตอบของรายการในส่วน ก ข้อมูลที่ขาดหายไป ท่านสามารถใช้ค่าที่นำมาแทนหรือเปลี่ยนแปลงตัวส่วนในสูตรการแปลง (ดูด้านล่าง) เพื่อรองรับรายการที่ขาดหายไปได้ เราขอแนะนำว่าถ้าผู้ตอบ ตอบ ≥50% ของรายการในมาตรวัดชนิดหลายรายการ (เช่น การคงการดูแลตนเองไว้) ก็ควรคำนวณคะแนน แต่ถ้าผู้ตอบตอบ ≤50% ของรายการ ก็ควรระบุว่าคะแนนสำหรับมาตรวัดนั้นขาดหายไป |
การแปลงคะแนนมาตรวัด | ขั้นตอนถัดไปเกี่ยวข้องกับการแปลงแต่ละคะแนนดิบของมาตรวัดเป็นมาตรวัดแบบ 0 – 100 โดยใช้สูตรที่แสดงไว้ด้านล่าง ตารางด้านล่างให้ตัวอย่างข้อมูลที่จำเป็นใน การใช้สูตรนี้กับแต่ละมาตรวัดในบัญชีการดูแลความเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยตนเอง (SC-CII) ให้ใช้หลักการเดียวกันในการคำนวณคะแนนสำหรับมาตรวัดอื่นๆ |
[ (Actual raw score – lowest possible raw score)]
Transformed Scale =
[ Possible raw score range ]
การแปลงนี้จะเปลี่ยนคะแนนต่ำที่สุดและสูงที่สุดที่เป็นไปได้ให้เป็น 0 และ 100 ตามลำดับ คะแนนระหว่างค่าเหล่านี้จะแสดงถึงร้อยละของคะแนนรวมที่เป็นไปได้ที่ได้มา
ตาราง. สูตรสำหรับให้คะแนนและแปลงมาตรวัด
มาตรวัด | คิดผลรวมค่ารายการ ขั้นสุดท้าย | คะแนนดิบต่ำที่สุดและ สูงที่สุดที่เป็นไปได้ | พิสัยคะแนนดิบที่เป็นไปได้ |
การคงการดูแลตนเองไว้
| 1+2+3+4+5+6+7+8 | 8, 40 | 32 |
การเฝ้าสังเกตในการดูแลตนเอง | 9+10+11+12+13+14* | 5, 30 | 25 |
การจัดการในการดูแลตนเอง
| 15+16+17+18+19+20 | 5, 30 | 25 |
ตัวอย่าง: คะแนนดิบของการคงการดูแลตนเองไว้ที่เท่ากับ 21 จะได้รับการแปลงดังนี้:
[(21 – 8)]
* 100 = 41
[ 32 ]
ดัชนีการดูแลโรคเบาหวานด้วยตนเอง
(Self-Care of Diabetes Index, SCODI)
กรุณาคิดถึงสิ่งที่ท่านทำและความรู้สึกของท่านในเดือนที่แล้ว
ส่วน ก
ด้านล่างนี้เป็นรายการพฤติกรรมบางอย่างที่ผู้เป็นโรคเบาหวานอาจทำได้เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ กรุณาระบุว่าท่านทำพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยหรือเป็นประจำเพียงใด
(วงกลมล้อมรอบตัวเลขตัวเดียว)
ข้อที่ |
| ไม่เคย |
|
|
| เสมอ |
1. | คงวิถีดำเนินชีวิตที่กระฉับกระเฉงไว้ (เช่น: เดิน ออกไปข้างนอก ทำกิจกรรม) | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
2. | ออกกำลังกายนาน 2 ชั่วโมง 30 นาที ในแต่ละสัปดาห์ (เช่น: ว่ายน้ำ ไปยิม ขี่จักรยาน เดิน) | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
3. | รับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรต (พาสต้า ข้าว น้ำตาล ขนมปัง), โปรตีน (เนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว), ผักผลไม้ อย่างสมดุล | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
4. | หลีกเลี่ยงการรับประทานเกลือและไขมัน (เช่น: เนยแข็ง เนื้อสัตว์ ตากแห้ง ขนมหวาน เนื้อแดง) | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
5. | จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ (ไวน์ไม่เกินวันละ 1 แก้วสำหรับผู้หญิง และ 2 แก้วสำหรับผู้ชาย) | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6. | พยายามหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วย (เช่น: ล้างมือ รับวัคซีนตามที่แนะนำ) | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
7. | หลีกเลี่ยงบุหรี่และควันยาสูบ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
8. | ดูแลเท้าของท่าน (ล้างและเช็ดผิวให้แห้ง ทาสารให้ความชุ่มชื้น ใช้ถุงเท้าที่เหมาะสม) | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
9. | รักษาสุขอนามัยที่ดีของช่องปากไว้ (แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้น้ำยาบ้วนปาก ใช้ไหมขัดฟัน) | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
10. | ไปตามที่นัดไว้กับผู้ให้บริการดูแลสุขภาพ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
11. | รับการตรวจสุขภาพตรงเวลา (เช่น: การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจตา) | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
12. | คนจำนวนมากมีปัญหาในการที่จะใช้ยาตามคำสั่งได้ทุกชนิด ท่านใช้ยาทุกชนิดตามที่ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพสั่งให้หรือไม่ (กรุณาพิจารณาอินซูลินด้วยถ้าแพทย์สั่งให้ท่าน) | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
ส่วน ข ด้านล่างนี้เป็นพฤติกรรมบางอย่างที่ผู้เป็นโรคเบาหวานอาจปฏิบัติได้เพี่อเฝ้าสังเกตโรคเบาหวานของตน กรุณาระบุว่าท่านทำพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยเพียงใด
(วงกลมล้อมรอบตัวเลขตัวเดียว)
ข้อที่ |
| ไม่เคย |
|
|
| เสมอ |
13. | เฝ้าสังเกตระดับน้ำตาลในเลือดของท่านอย่างสม่ำเสมอ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
14. | เฝ้าสังเกตน้ำหนักของท่าน | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
15. | เฝ้าสังเกตความดันเลือดของท่าน | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
16. | บันทึกระดับน้ำตาลในเลือดของท่านในสมุดบันทึกหรือสมุดจด | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
17. | เฝ้าสังเกตสภาพเท้าของท่านทุกวันเพื่อดูว่ามีบาดแผล อาการแดงหรือ ตุ่มพองหรือไม่ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
18. | เอาใจใส่กับอาการน้ำตาลในเลือดสูง (กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย) และน้ำตาลในเลือดต่ำ (อ่อนเพลีย เหงื่อออก วิตกกังวล) | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
หมายเหตุ: หากท่านตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่องในเดือนที่ผ่านมา ให้ท่านตอบ 5 ในข้อที่ 13 และ 16
ครั้งสุดท้ายที่ท่านมีอาการ:
ข้อที่ |
| ฉันไม่รู้จักอาการ | ไม่เร็ว |
|
|
| เร็วมาก |
19. | ท่านรู้จักว่าท่านกำลังมีอาการอยู่เร็วเพียงใด | 0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
20. | ท่านทราบเร็วเพียงใดว่าอาการเกิดจากโรคเบาหวาน | 0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
ส่วน ค ด้านล่างนี้เป็นรายการพฤติกรรมบางอย่างที่ผู้เป็นโรคเบาหวานอาจทำได้เพื่อทำให้น้ำตาลในเลือดของตนดีขึ้นเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ท่านทำ (หรือคงจะทำ) สิ่งเหล่านี้บ่อยเพียงใดเมื่อเกิดอาการขึ้นหรือเมื่อน้ำตาลในเลือดของท่านอยู่นอกช่วงปกติ
(วงกลมล้อมรอบตัวเลขตัวเดียว)
ข้อที่ |
| ไม่เคย |
|
|
| เสมอ |
21. | ตรวจน้ำตาลในเลือดของท่านเมื่อท่านรู้สึกว่ามีอาการ (เช่น กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย เหงื่อออก วิตกกังวล) | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
22. | เมื่อท่านมีระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ท่านได้บันทึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อาจเป็นสาเหตุและสิ่งที่ท่านทำหรือไม่ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
23. | เมื่อท่านมีระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ท่านขอคำแนะนำจากสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนหรือไม่ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
24. | เมื่อท่านมีอาการ และท่านค้นพบว่าน้ำตาลในเลือดของท่านต่ำ ท่านรับประทานหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเพื่อแก้ปัญหาหรือไม่ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
25. | ถ้าท่านพบว่าน้ำตาลในเลือดของท่านสูง ท่านปรับอาหารเพื่อแก้ไขหรือไม่ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
26. | ถ้าท่านพบว่าน้ำตาลในเลือดของท่านสูง ท่านปรับกิจกรรมทางกายเพื่อแก้ไขหรือไม่ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
27. | หลังจากกระทำการเพื่อปรับระดับน้ำตาลในเลือดที่ผิดปกติแล้ว ท่านตรวจน้ำตาลในเลือดของท่านซ้ำหรือไม่เพื่อประเมินว่าการกระทำที่ท่านทำนั้นได้ผล | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
28. | ถ้าท่านพบว่าน้ำตาลในเลือดของท่านต่ำมากหรือสูงมาก ท่านโทรหาผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของท่านเพื่อขอคำแนะนำหรือไม่ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
ท่านใช้อินซูลินหรือไม่
- ใช้
- ไม่ใช้
ถ้าใช้ กรุณาตอบคำถามต่อไปนี้
29. | ถ้าท่านพบว่าน้ำตาลในเลือดของท่านสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ท่านปรับขนาดยาอินซูลินในลักษณะที่ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของท่านแนะนำไว้หรือไม่ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
ส่วน ง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานต้องพัฒนาทักษะเพื่อดูแลตนเองและรักษาสุขภาพ ท่านรู้สึกมั่นใจเพียงใดในการทำกิจกรรมต่อไปนี้
(วงกลมล้อมรอบตัวเลขตัวเดียว)
ข้อที่ |
| ไม่มั่นใจเลย |
|
|
| มั่นใจอย่างที่สุด |
30. | ป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ และอาการของระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
31. | ปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการและกิจกรรมทางกาย | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
32. | ใช้ยาในลักษณะที่เหมาะสม (รวมถึงอินซูลินถ้ามีการสั่งให้) | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
33. | ยืนหยัดที่จะปฏิบัติตามแผนการรักษาถึงแม้เมื่อทำได้ยาก | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
34. | เฝ้าสังเกตระดับน้ำตาลในเลือดของท่านบ่อยเท่าที่ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพขอให้ทำ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
35. | เข้าใจว่าระดับน้ำตาลในเลือดของท่านดีหรือไม่ดี | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
36. | รู้ทันอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
37. | ยืนหยัดที่จะเฝ้าสังเกตภาวะโรคเบาหวานของท่านถึงแม้ว่าทำ ได้ยาก | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
38. | กระทำการเพื่อปรับน้ำตาลในเลือดและบรรเทาอาการของท่าน | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
39. | ประเมินผลว่าการกระทำของท่านได้ผลในการเปลี่ยนแปลงน้ำตาลในเลือดและบรรเทาอาการของท่านหรือไม่ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
40. | ยืนหยัดที่จะดำเนินการกระทำที่ทำให้น้ำตาลในเลือดของท่านดีขึ้นถึงแม้ว่าทำได้ยาก | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
ขอขอบคุณที่กรอกแบบสอบถามนี้!